วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การสานตะกร้า

ขั้นตอนเตรียมการ
1. ดิ้ว (ตอกตั้ง) ทำด้วยไม้ไผ่ เหลาให้เหล็กตามขนาดของหวายที่ใช้สาน
2. หวายสานถักและพันตามส่วนต่างๆ ของตะกร้า
3. ไม้ทำก้นตะกร้าใช้ไม้เนื้ออ่อน ดีที่สุดใช้ไม้สัก
4. ขอบตะกร้าใช้ไม้ไผ่ เหลาตามขนาดของตะกร้าโค้งตามรูปทรง ใส่ขอบและมัดเพื่อให้อยู่ตัวไม่หลุดพังง่าย
5. งวงตะกร้า ทำด้วยลวดเส้นใหญ่ตามขนาดของตะกร้า
6. มือจับตะกร้า (สำหรับใช้มือจับหิ้ว)
7. มีดโต้
8. เตรียมมีดตอก
9. เตรียม เลื่อย
10. เลียด
11. หินลับมีด
12. เศษผ้าสำหรับพันนิ้วมือ
13. ค้อนหงอน

ขั้นการผลิต

1. รูปแบบตะกร้า (รองตะกร้า) สร้างขึ้นด้วยไม้ตามแบบที่เราต้องการ ถ้าทรงเหลี่ยมข้างในจะกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ถ้ารูปไข่ และทรงกลม ข้างในจะตันทำด้วยไม้ก้ามปูหรือไม้เนื้ออ่อนอื่นๆ
2. เหลาหวายและดิ้วเป็นการทำให้หวาย และไม้ไผ่มีขนาดพอเหมาะที่จะใช้ในการสานตะกร้า หวายเหลาเป็นเส้นยาว เล็กและยาว ไม้ไผ่เหลาเล็กบางพอดีกับหวายเรียกว่า ดิ้ว ใช้สำหรับทำตอกตั้งในการสานตะกร้าควรมีความพยายามและมีความรับผิดชอบจึงจะได้หวายและดิ้วที่มีคุณภาพ เพียงพอที่จะสานตะกร้าได้สำเร็จ
3. นำไม้หวายมาเหลาให้เป็นเส้น
4. นำเข้าเครื่องชักหวาย หรือ เลียด เพื่อให้เป็นตามขนาดที่ต้องการ หรือใช้ ฝาหม้อ หรือจานสังกะสี
นำมาเจาะรูไล่ขนาดเล็ก ใหญ่ ขนาดใหญ่เท่ากับเส้นหวาย ไล่ลำดับขนาด เล็กลงไปจนเท่ากับเส้นด้าย
5. นำไม้ไผ่สีสุก เหลาให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ (เรียกว่าดิ้ว) นำไปต้มเพื่อย้อมสี (สีที่ใช้เป็นสจากธรรมชาติ)